ไร่องุ่นของเรา

ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่น

ผลองุ่นที่ใช้ในไวน์มอนซูน แวลลีย์ ถูกปลูกในไร่หลัก 3 แหล่งของเรา ได้แก่ ไร่องุ่นมอนซูน แวลลีย์ วินยาร์ดที่หัวหิน ไร่องุ่นทับกวาง และไร่องุ่นเชียงใหม่ โดยไร่องุ่นไร่องุ่นมอนซูน แวลลีย์ วินยาร์ด ที่หัวหิน เป็นไร่องุ่นที่ใหญ่ที่สุดในสามแห่ง ซึ่งเรามีพื้นที่ๆถูกสงวนเอาไว้ใช้เป็นเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าท้องถิ่นครอบคลุมกว่า 700 ไร่ (ประมาณ 110 เฮคเตอร์) เราปลูกองุ่นของเราด้วยน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น โดยจะเริ่มกักเก็บน้ำฝนไว้ในอ่างเก็บน้ำที่กระจายอยู่มากมายในไร่ในช่วงฤดูฝนเพื่อใช้ทำประโยชน์ใช้สอยอื่นๆและเพาะปลูกต่อในฤดูแล้ง

อ่างเก็บน้ำของเรายังเป็นที่อยู่อาศัยของกุ้งแม่น้ำและปลาหลากหลายชนิด เช่นเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ระบบนิเวศน์ในไร่องุ่นของเราเองก็เป็นแหล่งพักพิงอาศัยของชีวิตหลากหลายรูปแบบเช่นกัน สัตว์เล็กน้อยที่ใช้ชีวิตอยู่ในไร่ของเรามีตั้งแต่กระต่าย งูหลากหลายชนิด ลิง ไปจนถึงกิ้งก่าและไก่ป่าพันธุ์ต่างๆ โดยนอกจากการปลูกองุ่นแล้ว ไร่หลักทั้งสามแหล่งของเรายังมีโครงการเกษตรอื่นๆควบคู่กันไปอีกด้วย อย่างเช่น นาข้าวที่ไร่องุ่นเชียงใหม่ สัตว์ปีกอาทิเช่น ไก่บ้าน ไก่งวง ไก่แจ้ นกยูง ก็สามารถพบได้ทั่วไปที่ไร่องุ่นทับกวาง

ไร่องุ่นมอนซูนแวลลี่ย์ วินยาร์ด ยังทำการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวในสวนย่อยอีกสองแห่งในพื้นที่ของไร่เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับภัตตาคาร "เดอะศาลา ไวน์บาร์ แอนด์ บิสโทร" ของเรา นี่ยังรวมไปถึงครอบครัวหมูป่าท้องถิ่นอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลพลอยได้จากของเหลือของภัตตาคารเราอีกด้วย นอกจากพืชพันธุ์นานาชาติหลากชนิดทั้งไทยและเทศที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตไร่หัวหินฮิลส์ซึ่งมีทั้ง กล้วย มะม่วง มะละกอ มะกอก กาแฟ ราสเบอร์รี่ ต้นโกงกาง ดอกกุหลาบ ต้นหม่อน พืชสมุนไพรทั้งของไทยและอิตาลี ไร่องุ่นมอนซูน แวลลี่ย์ วินยาร์ด ยังร่วมเป็นหนึ่งในโครงการอนุรักษ์นกเงือก โดยร่วมบริจาคถังไวน์เก่าที่ได้รับการดัดแปลงให้แขวนติดกับต้นไม้สูงได้เพื่อใช้เป็นรังเทียมสำหรับนกเงือก โดยรังนกเทียมจากถังไวน์เหล่านี้ ยังสามารถพบได้ทั่วประเทศไทยไม่เพียงเฉพาะในไร่ของเราเท่านั้น

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ก้าวแรกสู่การปลูกองุ่นอย่างยั่งยืนในไร่องุ่นของเราประกอบไปด้วยชีวิตหลากหลายรูปแบบที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นแมลงจำนวนมากมายในธรรมชาติ บางชนิดเป็นอันตรายต่อพืชพันธุ์ เป็นสัตว์รบกวน บางชนิดก็เป็นผู้ล่าที่ไล่กินสัตว์รบกวนที่เป็นอันตรายต่อองุ่นของเราอีกที ระบบกำจัดสัตว์รบกวนโดยทั่วไปมักใช้สารเคมีที่จะฆ่าสัตว์ทั้งสองแบบไปพร้อมกัน ทั้งสัตว์รบกวนและผู้ล่า ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม ที่ไร่องุ่นมอนซูน แวลลีย์ของเรายังมีการใช้ Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) ไวรัสตัดแต่งพิเศษที่จะส่งผลต่อแมลงบางชนิดเท่านั้น ด้วยวิธีนี้การควบคุมสัตว์รบกวนจะเป็นไปได้อย่างราบรื่นโดยไม่รบกวนสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด

รากฐานของการเพาะปลูกทุกชนิดอยู่ที่ผืนดิน ไม่ใช่แค่หิน ดิน โคลน ทรายเท่านั้น แต่นี่คือ ระบบนิเวศน์มีชีวิตที่มอบ "อาหาร" และน้ำให้แก่พืชพันธุ์ของเรา ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะลดการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ต่างๆลง เรามอบคืน ผิวองุ่นและเมล็ดบดที่หลงเหลือจากขั้นตอนการคั้นไวน์ เศษเถากิ่งที่เหลือจากการตอนกิ่ง ต้นอ่อนและใบส่วนเกินต่างๆ กลับสู่ผืนดินอีกครั้ง การทำอย่างนี้เป็นการมอบคืนสารอาหารที่ถูกใช้จากผืนดินให้กลับสู่แหล่งที่มา ทำให้สารอาหารถูกกักเก็บเอาไว้แทบจะคงเดิมโดยไม่หลุดออกไปไหน นอกจากนี้ ไร่องุ่นของเรายังปกคลุมไปด้วยชั้นของหญ้าที่ถูกตัดเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยทำให้สิ่งมีชีวิตและชั้นดินมีสารอาหาร เป็นวัฏจักรที่สามารถพัฒนาและดูแลผืนดินของเราได้ตลอดเวลา

โครงการเปลี่ยนเถาองุ่นแก่ให้กลายเป็นถ่านไบโอชาร์ เป็นโครงการแรก ที่เริ่มมีการใช้ถ่านไบโอชาร์เพื่อเพิ่มสารอาหารและความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน รวมไปถึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ในระยะยาวแล้ว ถ่านไบโอชาร์นับว่าเป็นก้าวแรกสู่การผลิตปุ๋ยชีวภาพ 100% ที่ไร้ซึ่งสารเคมีสังเคราะห์อย่างสิ้นเชิง

พันธุ์องุ่นของเรา

หรือเรียกอีกอย่างว่า ซีฮาส์ เป็นองุ่นพันธุ์จากฝรั่งเศสที่มีถิ่นกำเนิดในหุบเขาโรห์นของฝรั่งเศส บางตำนานเล่ากันว่าองุ่นพันธุ์นี้มีจุดกำเนิดมาจากอาณาจักรเปอร์เซีย (จากเมืองหลวงของแคว้นฟารซ์ในประเทศอิหร่าน ที่ชื่อว่า ชีราซ) ซึ่งน่าจะไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด องุ่นพันธุ์ชีราซมีผลรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย สีน้ำเงินเข้ม ขนาดเล็ก ชีราซชอบแสงแดดและอากาศแห้ง ทำให้พวกมันเป็นพันธุ์องุ่นที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาพอากาศในฤดูแล้งของประเทศไทย องุ่นพันธุ์นี้สามารถพัฒนารสชาติได้หลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และผืนดินที่ใช้ปลูก ทำให้เป็นหนึ่งในพันธุ์องุ่นที่เป็นที่นิยมมากจนได้รับการยกระดับให้เป็นหนึ่งในกลุ่มของ "องุ่นชั้นสูง" ชีราซส่วนมากถูกปลูกในประเทศฝรั่งเศส และ ออสเตรเลีย แต่ก็พบเห็นได้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แมกซิโก อาร์เจนติน่า แอฟริกาใต้ และอิตาลีเช่นกัน รวมไปถึงการที่พวกมันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในกลุ่มผู้เพาะปลูกจากประเทศเขตร้อนอีกด้วย

โคลอมบาร์ด มีถิ่นกำเนิดมาจากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส และจัดไปเป็นหนึ่งในสามพันธุ์องุ่นยอดนิยมในการผลิตบรั่นดีอาร์มายัก ไวน์ที่ผลิตจากองุ่นโคลอมบาร์ดมักจะอุดมไปด้วยรสชาติของผลไม้เขตร้อนอย่างเช่น มะม่วง เสาวรส และสัปปะรด ทำให้เป็นที่นิยมในการใช้องุ่นพันธุ์นี้ในไวน์แบบผสมเพื่อเพิ่มรสผลไม้แทรกลงไป อย่างไรก็ดีในประเทศไทยนั้น องุ่นพันธุ์โคลอมบาร์ดจัดว่าเป็นองุ่นที่ลงตัวได้เป็นอย่างดีกับผลไม้ท้องถิ่นจำนวนมาก ด้วยลักษณะเฉพาะตัวอีกอย่างคือการรักษาระดับความเป็นกรดเอาไว้ได้ในช่วงที่กำลังสุก ถึงแม้จะอยู่ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ไวน์มีรสชาติสดชื่นและมีชีวิตชีวามากขึ้น ปัจจุบันนี้องุ่นโคลอมบาร์ดส่วนมากถูกปลูกจากประเทศฝรั่งเศส รัฐแคลิฟอร์เนีย และในประเทศแอฟริกาใต้ แต่ก็ยังพบเห็นบางส่วนได้จาก สเปน ออสเตรเลีย และ อิสราเอลที่ซึ่งมีการเพาะปลูกขนาดเล็กกว่าเกิดขึ้นประปราย

ต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ยังเป็นปริศนา แต่มีการคาดเดากันว่าน่ามีการเพาะปลูกมาตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 300 (ราวปี พ.ศ. 850) ในหุบเขาลัวร์ของฝรั่งเศส ถึงแม้ตัวพันธุ์องุ่นจะได้ชื่อ เชนิน บลอง มาอย่างเป็นทางการในอีกราว 1,000 ปีให้หลัง จากการที่มีการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายใกล้เขตมอนต์เชอนิน เชอนินบลังค์ถูกจัดให้เป็นองุ่นที่มีคุณลักษณะรอบด้านในบรรดาพันธุ์องุ่นด้วยกัน อุดมไปด้วยน้ำตาล ผิวแห้ง และกรดที่ค่อนข้างสูง ถูกใช้ในการผลิตไวน์แบบหวาน และยังสามารถใช้ผลิตทั้งไวน์แบบมีฟองและไม่มีฟอง ขึ้นอยู่กับสภาพดินในท้องถิ่นและประเภทของไวน์ ไวน์ที่ผลิตจากเชนิน บลอง มีขอบเขตของรสชาติที่กว้างขวางมากตั้งแต่รสหอมมันแบบถั่วและอัลมอนด์ไปจนถึงลูกพีช แอปริคอตและแอปเปิ้ล คุณสมบัตินี้เองทำให้เชนิน บลอง เป็นอีกหนึ่งในสายพันธุ์องุ่นที่นิยมปลูกกันทั่วโลก ทุกวันนี้พวกมันถูกปลูกมากในประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี บราซิล แมกซิโก อุรุกวัย และ ประเทศอิสราเอล

องุ่นสายพันธุ์ใหม่ที่พึ่งถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปีค.ศ.1955 (พ.ศ. 2498) โดยออกัส เฮโรลด์จากสถาบันเพาะพันธุ์องุ่น Weinsberg ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมัน องุ่นพันธุ์ดอน เฟลเดอร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเยอรมัน ที่ซึ่งในปัจจุบันนี้มันได้ยืนหยัดในฐานะองุ่นแดงที่ปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสอง ขึ้นอยู่กับลักษณะของวิธีการหมักไวน์ ไวน์ที่ได้จากองุ่นพันธุ์นี้สามารถให้ได้ทั้งรสผลไม้สดชื่นหรือมีรสฝาดเป็นฐานหลัก ด้วยความที่ยังเป็นสายพันธุ์ใหม่ ดอร์นเฟลเดอร์ยังไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายนัก นอกประเทศเยอรมัน แต่นี่อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงในเวลาไม่นานนี้ หลังจากที่เริ่มมีผู้เพาะพันธุ์องุ่นจาก สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล และญี่ปุ่นที่ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของมันบ้างแล้ว

ด้วยความที่เป็นองุ่นที่นิยมปลูกมากที่สุดในอิตาลี ทำให้แคว้นใหญ่ทั้งสองแคว้นอย่างทอสคานา และ เอมิเลีย โรมัญญ่า ต่างบอกว่าองุ่นพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดในแคว้นของตนเอง แซงโจเวเซ คือองุ่นสายพันธุ์หลักที่ปลูกในเมืองเคียนติ พวกมันสามารถให้รสชาติที่หลากหลายขึ้นอยู่กับระยะเวลาหมักบ่ม โดยไวน์ที่อายุน้อยจะให้รสชาติของผลไม้และกลิ่นหอมหวานเฉพาะตัว ขณะที่ไวน์ที่หมักนานขึ้นจะให้รสหนักเฝื่อนๆเจือกลิ่นหอมดิน อิตาลีคือประเทศที่ปลูกและส่งออกองุ่นแซงโจเวเซมากที่สุดในแทบทุกพื้นที่ของประเทศ แต่ก็ยังพบผู้เพาะปลูกองุ่นพันธุ์นี้ได้ใน ฝรั่งเศส กรีซ อิสราเอล สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาร์เจนติน่า และชิลี เช่นกัน

วงจรการเก็บเกี่ยว

dot image

มกราคม

ม.ค.

ผลิตผล

ผลมีการเจริญเติบโต

องุ่นมีการเจริญเติบโตจนผลมีขนาดใหญ่ และผลติดกันแน่นทำการตัดยอดเพื่อให้ผลองุ่นได้รับอาหารเต็มที่

demo
dot image

กุมภาพันธ์

ก.พ.

เร่งสีองุ่น

ผลระยะเปลี่ยนสี

องุ่นผิวเริ่มนิ่ม และเปลี่ยนสี ทำการปลิดใบออกทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้อากาศถ่ายเท ลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง

demo
dot image

มีนาคม

มี.ค.

เติบโตเต็มที่

ผลสุกพร้อมเก็บเกี่ยว

องุ่นมีสีเข้ม ปริมาณน้ำตาลในผลเพิ่มขึ้น ปริมาณกรดลดลง กลิ่นและรสชาติชัดเจนตามสายพันธุ์ และ เริ่มทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต

demo
dot image

เมษายน

เม.ย.

ระยะเติบโต

ตัดกิ่งสั้น

ตัดกิ่งสั้น 1 ตา/กิ่ง

demo
dot image

พฤษภาคม

พ.ค.

ระยะเติบโต

แตกยอดอ่อน

ตาที่ออกมา ทำการคัดกิ่งให้ได้ตำแหน่ง เพื่อให้กิ่งมีการเจริญเติบโตเต็มที่

demo
dot image

มิถุนายน

มิ.ย.

ระยะเติบโต

การจัดกิ่งและตัดแขนง

เพื่อให้กิ่งได้รับอากาศถ่ายเทแสงเพียงพอ ต่อการสะสมอาหาร และลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง

demo
dot image

กรกฎาคม

ก.ค.

ระยะเติบโต

การจัดกิ่งและตัดแขนง

เพื่อให้กิ่งได้รับอากาศถ่ายเทแสงเพียงพอ ต่อการสะสมอาหาร และลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง

demo
dot image

สิงหาคม

ส.ค.

ระยะเติบโต

การตัดแต่งทรงพุ่ม

ควบคุมการเจริญเติบโตโดยการปลิดใบล่างโคนกิ่ง และตัดยอด เพื่อให้กิ่งสะสมอาหารได้อย่างเต็มที่ ระยะนี้จะดำเนินการไปเรื่อยๆจนสิ้นเดือนกันยายน

demo
dot image

กันยายน

ก.ย.

ระยะเติบโต

การตัดแต่งทรงพุ่ม

ควบคุมการเจริญเติบโตโดยการปลิดใบล่างโคนกิ่ง และตัดยอด เพื่อให้กิ่งสะสมอาหารได้อย่างเต็มที่ ระยะนี้จะดำเนินการไปเรื่อยๆจนสิ้นเดือนกันยายน

demo
dot image

ตุลาคม

ต.ค.

ผลิตผล

ตัดกิ่งยาว

ตัดกิ่งยาว 3 - 4 ตา/กิ่ง

demo
dot image

พฤศจิกายน

พ.ย.

ผลิตผล

แตกยอดอ่อน

ตาที่ออกมาจะมีช่อองุ่นออกมา พร้อมทำการคัดกิ่งที่มีช่อองุ่นไว้ป้องกันกิ่งซ้อนทับกัน

demo
dot image

ธันวาคม

ธ.ค.

ผลิตผล

ดอกบาน/ผสมเกสร

ช่อองุ่นทำการผสมเกสรภายในตัวเอง ทำการปลิดใบออกตามแนวช่อองุ่นเพื่อให้ผลองุ่นได้รับแสงและอากาศถ่ายเท

demo

แผนที่เพาะปลูกองุ่น